วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

สอนภาษาญี่ปุ่นพื้นฐาน

สอนภาษาญี่ปุ่นพื้นฐาน

ข้อแนะนำสำหรับผู้เรียนทุกท่าน(วิธีเรียนที่ได้ผลมากที่สุด)

1.จดจำคำศัพท์ให้ได้
2.ฝึกการใช้รูปประโยค
3.ฝึกทบทวนบทสนทนา
4.ทบทวนสิ่งที่เรียนไปแล้ว
5.พยายามสนทนากับสถานการณ์จริงๆ
ตาราง ฮิรางานะ,คาตาคานะ,ตัวแต้ม,ตัวผสม
[หมายเหตุ] : มันจะมีเสียงที่สร้างขึ้นใหม่เพื่อจะเอาไว้ทับศัพท์กับภาษาต่างประเทศเช่น
Wi=ウ,We=ウ,Wo=ウ,she=シ,che=チ,tsa=シ,tse=シ,tso=シ,ti=テ,tu=ト,fa=フ,fi=フ,fe=フ,fo=フ,je=ジ,di=デ,du=ド,dyu=デ
หลักทั่วไปของภาษาญี่ปุ่น
1.ชนิดของคำ
ในภาษาญี่ปุ่นชนิดของคำแบ่งออกได้ดังนี้ คำกริยา คำคุณศัพท์ คำนาม กริยาวิเศษณ์ คำเขียน(คำสันธาน) และคำช่วย
2.ลำดับคำ
ภาคแสดงจะวางไว้หลังประโยคและคำขยายจะอยู่หน้าคำหรือวลีที่จะขยาย
3.ภาคแสดง
ในภาษาญี่ปุ่นภาคแสดงเกิดจากการประกอบขึ้นเป็นรูปร่างของคำ 3 ชนิดคือคำนาม คำกริยา และคำคุณศัพท์ การจะผันเป็น 1.บอกเล่า,ปฏิเสธ 2.กาล
สำหรับคำคุณศัพท์จะมี 2 ชนิดคือ คำคุณศัพท์ い และคำคุณศัพท์ な การผันจะแตกต่างกันไป
ในภาษาญี่ปุ่นไม่มีการผันคำเกี่ยวกับบุคคล เพศ และจำนวน
4.คำช่วย
คำช่วยจะแสดงให้ทราบถึงความเกี่ยวข้องของไวยากรณ์ระหว่างคำ แสดงให้ทราบถึงความ
มุ่งหมายหรือเจตนาของผู้พูด หรือทำหน้าที่เชื่อมประโยค
5.การละ(ข้อความ)
บ่อยครั้งที่ประธานหรือกรรมจะถูกละไว้เป็นที่เข้าใจ หากเนื้อหานั้นๆเป็นที่ทราบกันแล้ว
อักษรภาษาญี่ปุ่น
อันนี้ขี้เกียจอธิบาย ก็คือว่า ประโยคในแต่ละประโยคมันจะประกอบด้วยตัวอักษรญี่ปุ่น 3 ประเภท
คือ ฮิรางานะ คาตากานะ และคันจิ ส่วนโรมันจิมักจะเขียนอยู่ตามป้ายเผื่อชาวต่างชาติ
สระเสียงยาว
สำหรับสระ あ、い、う、え、お เมื่อเป็นเสียงยาว จะเท่ากับมีความยาวเสียงสระเป็นสองเท่า เช่น
あ เป็น 1 เสียง และ ああ จะออกเสียงเป็น 2 เท่า กล่าวคือหากนับด้วยหน่วยของจังหวะเสียง あ จะ
เท่ากับ 1 จังหวะและ ああ นับเป็น 2 จังหวะ
การออกเสียงสั้น-ยาวไม่ชัด จะทำให้ความหมายของคำผิดไป
ตัวอย่าง
สระเสียงยาวของ ฮิรางานะ
おばさん (อา,น้า,ป้า) : おばあさん (ย่า,ยาย,หญิงชรา)
おじさん (อา,น้า,ลุง) : おじいさん (ปู่,ตา,ชายชรา)
ゆき   (หิมะ) : ゆうき (ความกล้าหาญ)
え   (ภาพ,รูปภาพ) : ええ  (ครับ/ค่ะ)
とる  (หยิบ,ส่ง,จับ) : とおる (ผ่าน)
ここ  (ที่นี่) : こうこう (โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย)
へや  (ห้อง) : へいや  (ทุ่งราบ)
สระเสียงยาวของ คาตาคานะ
カード  (การ์ด)
タクシー (แท็กซี่)
スーパー (ซูเปอร์มาเกต)
テープ (เทป)
ノート (สมุด,สมุดบันทึก)
[หมายเหตุ]
1) การทำสระเสียงยาวของฮิรางานะ
1.สระเสียงยาวของแถว あ
ทำโดยเพิ่ม あ เข้าที่ตัวคานะของแถว あ
2.สระเสียงยาวของแถว い
ทำโดยเพิ่ม い เข้าที่ตัวคานะของแถว い
3.สระเสียงยาวของแถว う
ทำโดยเพิ่ม う เข้าที่ตัวคานะของแถว う
4.สระเสียงยาวของแถว え
ทำโดยเพิ่ม い เข้าที่ตัวคานะของแถว え
(ข้อยกเว้น : ええ [เอ้] ครับ/ค่ะ ねえ [เน่] นี่แน่ะ! おねえさん [โอะเน่ซัง] พี่สาว)
5.สระเสียงยาวของแถว お
ทำโดยเพิ่ม う เข้าที่ตัวคานะของแถว お
(ข้อยกเว้น : おおきい [โอคี] ใหญ่ おおい [โออิ] มาก とおい [โตอิ] ไกล ฯลฯ)
2)การทำสระเสียงยาวของคาตากานะ
ไม่ว่าจะเป็นสระแถวใดก็ตาม ทำโดยการเติม ー
เสียงตัวสะกด ん
 ん จะไม่เขียนไว้หน้าคำ และมีเสียงเป็น 1 จังหวะ เสีง ん จะเปลี่ยนไปเพื่อให้ง่ายต่อการออกเสียง
มากขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเสียงที่ตามมาข้างหลัง
1) จะเปลี่ยนเสียงเป็น /n/ เมื่ออยู่หน้าเสียงของวรรค た、だ、ら、な
  ตัวอย่าง
  はんたい [ฮัน-ไต] (ตรงกันข้าม)  うんどう [อุน-โด] (กีฬา)
  せんろ [เซน-โระ]  (รางรถไฟ)   みんな [มิน-นะ]  (ทั้งหมด,ทุกคน)
2) จะเปลี่ยนเสียงเป็น /m/ เมื่ออยู่หน้าเสียงของวรรค ば、ぱ、ま
  ตัวอย่าง
  しんぶん [จิม-บุน] (หนังสือพิมพ์)  えんぴつ [เอม-พิ-ทสึ] (ดินสอ)
  うんめい [อุม-เม] (โชคชะตา)
3) จะเปลี่ยนเสียงเป็น /ng/ เมื่ออยู่หน้าเสียงของวรรค か、が
  ตัวอย่าง
  てんき [เทง-คิ]  (อากาศ)  けんがく [เคง-งะ-คุ] (ทัศนศึกษา)
การออกเสียงพยัญชนะวรรค が
พยัญชนะวรรค が เมื่อเขียนอยู่หน้าคำจะออกเสียง [g] นอกเหนือจากนั้นออกเสียง [ng] ทั้งหมด
ระยะหลังๆนี้ชาวญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยไม่ได้ออกเสียงแยกความแตกต่างระหว่าง [g] กับ [ng] แล้ว
ส่วนมากจะออกเสียง [g] ทั้งหมด
  ตัวอย่าง
  ひらがな 「ฮิรางานะ,ฮิรากานะ」
  まんが  「มังงะ」
การออกเสียงสระ 「i」 และ 「u」
สระ 「i」 และ 「u」 จะฟังเหมือนเสียงหมดไปเมื่ออยู่ระหว่างพยัญชนะไม่ก้อง และนอกจากนี้ประโยคที่
ลงท้ายด้วย ~です、~ます เสียงสระ 「u」 ในพยัญชนะตัวสุดท้าย す 「s」 จะหายไป
  ตัวอย่าง : すき 「สุ-คิ」 (ชอบ), したいです 「ชิ-ไต-เดส」 (อยากทำ), ききもす 「คิ-คิ-มัส」 (ฟัง)
เสียงซ้อน つ
[หมายเหตุ] ในบทเรียนนี้ควรฟังเสียงไปด้วยเพื่อทำความเข้าใจ Download
  つ มีเสียงของตัวเองนับเป็น 1 จังหวะ และจะอยู่หน้าเสียงของวรรค か、さ、た、ぱ กรณี
ที่เป็นภาษาต่างประเทศ จะอยู่หน้าเสียงของวรรค ザ、ダ
  ตัวอย่าง
  ふか (ผู้ใต้บังคับบัญชา) : ふか (ราคาสินค้า)
  かさい (อัคคีภัย) : かさい (ปรบมือให้)
  おと (เสียง) : おと (สามี)
  にき  (ไดอารี่)
  ざし  (นิตยสาร)
  きて  (แสตมป์)
  いぱい (เต็ม)
  コプ  (แก้วน้ำ)
  べド  (เตียง)
เสียงควบ 「เสียงพยัญชนะมีตัว や、ゆ、よ ควบอยู่」
[หมายเหตุ] บทนี้ควรมีไฟล์เสียงเรียนควบคู่ด้วยเช่นกัน Download
 เมื่อ き、ぎ、し、じ、ち、に、ひ、び、ぴ、み และ り ผสมกับอักษรคานะครึ่งตัว
คือ  แล้ว ออกเสียงควบเป็นพยางเดียวกัน จะเท่ากับพยัญชนะ 2 ตัว เสียง 1 จังหวะ
ตัวอย่าง
 ひやく [ฮิ-ยะ-คุ] (กระโดด) : ひく [ฮยะ-คุ] (ร้อย)
 じゆう [จิ-ยู] (อิสรภาพ) : じう [จยู] (สิบ)
 びやういん [บิ-ยู-อิน] (ร้านเสริมสวย) : びういん [บยู-อิน] (โรงพยาบาล)
 シツ [ชยะ-สึท] (เสื้อเชิ้ต)
 おち [โอ-จยะ] (ชา)
 ぎうにう [กยู-นยู] (นม)
 きう [คโย] (วันนี้)
 ぶちう [บุ-จโย] (ผู้จัดการฝ่าย)
 りいう [รโย-โค] (การท่องเที่ยว)

[หมายเหตุ] มันมีเทคนิคการอ่านสำหรับคนที่ไม่เข้าใจเช่น [ชยะ] มันจะอ่านประมาณว่า
[ชะ-ยะ] แต่ออกเสียงไวๆมันจะออก [ชยะ] หรือ [รโย] มันจะประมาณ [ระ-โย]
แต่เร่งการออกเสียงไวๆมันจะเป็นประมาณว่า [เรียว] ลองพูดคำว่า [ระ-โย] ไวๆดูสิ


毎(まい)日(にち)の あいちつと 会(かい)話(わ)ひゅう現(げん)
[มา-นิ-จิ-โนะ ไอ-จิ-สึท-โตะ ไค-วะ-ฮยู-เกน]
(การทักทายในชีวิตประจำวัน และ บทสนทนาในรูปแบบต่างๆ)


1.อรุณสวัสดิ์ครับ/ค่ะ
おはよう ございます。
(โอะ-ฮะ-โย โกะ-ไซ-มัส)

2.สวัสดีครับ/ค่ะ(ใช้ตอนบ่าย)
こんにちは。
(คน-นิ-จิ-วะ)

3.สวัสดีครับ/ค่ะ(ใช้ตอนเย็น,ค่ำ)
こんばんは。
(คม-บัง-วะ)

4.ราตรีสวัสดิ์ครับ/ค่ะ
おやすみなさい。
(โอะ-ยะ-สุ-มิ-นะ-ไซ)

5.ลาล่ะครับ/ค่ะ
さようなら。
(ซะ-โย-นะ-ระ)

6.ขอบคุณมากครับ/ค่ะ
ありがとう ごさいます
(อะ-ริ-งะ-โตะ โกะ-ไซ-มัส)

7.ขออนุญาติครับ/ค่ะ
すみません
(สุ-มิ-มะ-เซน)

8.ขอความกรุณาด้วยครับ/ค่ะ
おねがいします
(โอะ-เนะ-ไก-ชิ-มัส)

เริ่มบทที่ 1


คำศัพท์ที่ควรรู้ก่อนเริ่มเรียน

わたし       ผม,ดิฉัน
わたしたち     เรา,พวกเรา
あなた       คุณ
あのひと  「あの人」 คนนั้น,เขา,เธอ
(あのかた) (「あの方」) (あのかた เป็นคำสุภาพของ あのひと)
みなさん  「皆さん」 ท่านสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี,ทุกท่าน
~さん    คุณ~,นาย~,นาง~,นางสาว~
~ちゃん      หนู~(เรียกต่อท้ายชื่อเด็กหญิง,ชาย แทนการใช้ ~さん)
~くん   「~君」  (เรียกต่อท้ายชื่อของเด็กผู้ชาย)
~じん   「~人」  ชาว~,คน~(เรียกต่อท้าย มีความหมายว่า "สัญชาติ" ตัวอย่าง : アメリカじん คนอเมริกัน)
せんせい  「先生」  ครู,อาจาร์ย(ไม่ใช้คำนี้เวลากล่าวถึงอาชีพของตัวเอง)
きょうし   「教師」  ครู,ผู้สอน(เมื่อกล่าวถึงอาชีพตนเอง)
がくせい  「学生」   นักเรียน,นักศึกษา
かいしゃいん 「会社員」 พนักงานบริษัท
しゃいん  「社員」   พนักงานบริษัท~(ใช้เมื่อบอกว่าเป็นพนักงานบริษัทชื่อ~ ตัวอย่าง : IMC の しゃいん พนักงานบริษัท IMC)
ぎんこういん 「銀行員」  พนักงานธนาคาร
いしゃ   「医者」   หมอ,แพทย์
けんきゅうしゃ 「研究者」 นักวิจัย,นักเรียนทุน
エンジニア       วิศวกร
だいがく  「大学」    มหาวิทยาลัย
びょういん 「病院」    โรงพยาบาล
でんき   「電気」    ไฟฟ้าแสงสว่าง
だれ (どなた)     ใคร (どなた เป็นคำสุภาพของ だれ)
_さい   「_歳」    อายุ_ปี
なんさい (あいくつ) 「何歳」 อายุเท่าไหร่ (あいくつ เป็นคำสุภาพของ なんさい)
はい         ใช่ครับ/ค่ะ
いいえ        ไม่ใช่,เปล่า
しつれいですか 「失礼ですか」  ขอประทานโทษ,ขอโทษครับ/ค่ะ
(ใช้เมื่ออยากขอทราบชื่อ ที่อยู่ ฯลฯ ของคู่สนทนา)
おなまえは? 「お名前は?」 ขอทราบชื่อด้วยครับ/ค่ะ
はじめまして。  初めまして。ยินดีที่ได้รู้จัก (ในการพบเจอกันครั้งแรก,ใช้เป็นคำเกริ่นก่อนเริ่มแนะนำตัวเอง)

ที่มาครับ : http://animexplus.com/board/viewthread.php?tid=404&extra=page%3D1

1 ความคิดเห็น: